ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ทวี บุณยเกตุ

นายทวี บุณยเกตุ (10 พ.ย. 2447 - 3 พ.ย. 2514) นายกรัฐมนตรีคนที่ 5 (รัฐบาลที่ 12) หนึ่งในคณะราษฎรสายพลเรือน และขบวนการเสรีไทยและเป็นผู้แต่งหนังสือเรื่อง พ่อสอนลูก

นายทวี บุณยเกตุ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 เวลา 13.20 น. ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง (ซึ่งขณะนั้นถือเป็นอำเภอเมือง จังหวัดตรัง) เป็นบุตรของพระยารณชัยชาญยุทธ์ (ถนอม บุณยเกตุ) กับคุณหญิงรณชัยชาญยุทธ์ (ทับทิม) โดยชื่อ ทวี มาจากการที่บิดาและมารดาสมรสกันในวันทวีธาภิเษก บุคคลที่เข้าร่วมงานเมื่อเลิกจึงมาในงานสมรสโดยไม่ได้ผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า ติดเหรียญตราทวีธาภิเษกเข้าร่วมงานเลย

นายทวีสมรสกับคุณหญิงอำภาศรี บุณยเกตุ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 สิริอายุได้ 67 ปี

นายทวีจบการศึกษาวิชากสิกรรมเมื่อ พ.ศ. 2468 และรับราชการที่กระทรวงเกษตราธิการ หน้าที่การงานก้าวหน้าขึ้นจนเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมประมง เมื่อ พ.ศ. 2478 จากนั้นย้ายมาเป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2482 และขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อ พ.ศ. 2483

ในระหว่างศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศส นายทวี มีโอกาสได้พบปะกับผู้นำความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เช่น นายปรีดี พนมยงค์, ร้อยโท แปลก ขีตตะสังคะ, ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี, ร้อยโท ทัศนัย มิตรภักดี จึงได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกคนหนึ่งของคณะราษฎร โดยผ่านการรับรองของ นายแนบ พหลโยธิน ที่ได้ติดตามดูพฤติกรรมของนายทวีมาระยะหนึ่งแล้ว โดยนายแนบเป็นผู้ที่ชักชวน และนายทวีก็ได้ตอบรับทันที

เมื่อเดินทางกลับสู่ประเทศไทย นายทวีเข้ารับราชการเป็นพนักงานบำรุงพันธุ์สัตว์ กระทรวงเกษตราธิการ ก็ได้ชักชวนบุคคลต่าง ๆ เข้าร่วมกับคณะราษฎรอีกไม่ต่ำกว่า 10 คน อาทิ นายจรูญ สืบแสง, นายวิลาศ โอสถานนท์, นาวาตรี สินธุ์ กมลนาวิน เป็นต้น และในการประชุมวางแผนนั้นก็ได้ใช้บ้านพักของหลายบุคคลสลับกันไป รวมทั้งบ้านของนายทวีด้วย ซึ่งในการประชุมวางแผนครั้งสุดท้ายที่บ้านของ พันเอก พระยาทรงสุรเดช นายทวีก็เข้าร่วมด้วย

ต่อมานายทวีต้องย้ายไปรับราชการที่อำเภอท่าพระ จังหวัดขอนแก่น (ปัจจุบันคือ อำเภอเมืองขอนแก่น) จึงไม่มีโอกาสได้ติดต่อกับคนอื่น ๆ แต่ได้ขอให้นายแนบ พหลโยธิน เป็นผู้ส่งข่าวความคืบหน้า จนกระทั่งนายแนบได้ส่งโทรเลขความว่า "ส่งเงินวันที่ 16 นี้" ซึ่งเป็นรหัส อันหมายถึงจะลงมือปฏิบัติการในวันที่ 16 มิถุนายน นายทวีจึงถือโอกาสลาราชการมายังกรุงเทพมหานคร แต่ว่าการปฏิบัติการก็ได้เลื่อนต่อไปจนถึงวันที่ 24 มิถุนายน นายทวีจึงขอลาหยุดต่ออีก 7 วัน

ในเช้าวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ในเวลา 01.00 น. นายทวีได้เริ่มออกปฏิบัติการโดยขับรถตระเวนไปตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วพระนคร พร้อมกับนายจรูญ สืบแสง เพื่อตรวจตราความเรียบร้อยของสถานที่ต่าง ๆ ตามแผน ก่อนจะไปสมทบกับกลุ่มของ ร.ท.แปลก ทำการควบคุมค่ายทหาร ที่บางซื่อ จนกระทั่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองดำเนินไปจนสำเร็จด้วยดี อีกทั้งก่อนหน้านั้นนายทวียังเป็นผู้ที่ปลอมลายเซ็นของ พลตำรวจโท พระยาอธิกรณ์ประกาศ อธิบดีกรมตำรวจ เพื่อเซ็นลงในใบอนุญาตให้พกอาวุธปืน ซึ่งได้ใช้เป็นอาวุธสำคัญในปฏิบัติการของคณะราษฎรสายพลเรือนด้วย

ในรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรี นายทวีได้รับแต่งตั้งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาร่างเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ เป็นผู้หนึ่งที่มีแนวความคิดสอดคล้องกับนายปรีดี พนมยงค์ นอกจากนี้ยังสนิทสนมและได้รับความไว้วางใจจากนายควง อภัยวงศ์ เป็นอย่างมาก

ในช่วงรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายทวี และนายควง ได้รับเลือกเป็นประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2486 แต่เนื่องจากความขัดแย้งส่วนตัวกับจอมพล ป. ซึ่งไม่ยอมลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ นายทวีและนายควง จึงลาออกจากตำแหน่งทั้งคู่

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นายควง อภัยวงศ์ รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากจอมพล ป. นายทวี บุณยเกตุได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในช่วงเวลานั้น นายทวียังได้รับมอบอำนาจเป็นผู้สั่งการแทนนายกรัฐมนตรีในหลายโอกาส ทั้งยังเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ในการประกาศพระบรมราชโองการว่าสงครามกับสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาเป็นโมฆะ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488

หลังจากนายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และอยู่ระหว่างรอ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช กลับจากสหรัฐอเมริกา นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้แต่งตั้งนายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และลาออกเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 ระยะเวลาในการบริหารประเทศของนายทวีจึงสั้นเพียง 18 วัน นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีระยะเวลาดำรงตำแหน่งสั้นที่สุด

หลังจากที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายทวี บุณยเกตุ ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2488 ให้เรียกชื่อประเทศว่า สยาม เช่นเดิม แต่เมื่อจอมพล ป. กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 จึงได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ประเทศไทย อีกครั้ง และใช้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะทหารเข้ายึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายทวี บุณยเกตุ ได้ลี้ภัยออกนอกประเทศพร้อมกับภริยา ไปใช้ชีวิตที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย และเดินทางกลับประเทศไทยหลังจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500 โค่นล้มจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายทวีได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ใช้เวลาร่างถึง 10 ปี

นายทวี บุณยเกตุ ได้ก่อตั้งมูลนิธิทางการศึกษาชื่อ มูลนิธิ ทวี บุณยเกตุ ซึ่งเคยช่วยเหลือสมาชิกคุรุสภา ผู้ประสบอัคคีภัยและภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ใช้ชื่อท่านเป็นห้องประชุม (ห้องประชุม ทวี บุณยเกตุ ชั้น 6 อาคารสำนักอธิการบดี)

นายทวี บุณยเกตุ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึงปี พ.ศ. 2489 นับเป็นคนที่ 2 ของมหาวิทยาลัย (ต่อจาก พลเรือเอกสินธุ์ กมลนาวิน)

ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม • เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ • หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) • ทวี บุณยเกตุ • อดุล อดุลเดชจรัส • หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) • พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) • แสง สุทธิพงศ์ • ประจวบ บุนนาค • เล็ก สุมิตร • พระยาบริรักษ์เวชชการ (ไล่ฮวด ติตติรานนท์) • ประยูร ภมรมนตรี • ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี • เฉลิม พรมมาส • พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) • ประเสริฐ รุจิรวงศ์ • อุดม โปษะกฤษณะ • คล้าย ละอองมณี • ประชุม รัตนเพียร • สวัสดิ์ คำประกอบ • ทวี จุลละทรัพย์ • ยงยุทธ สัจจวาณิชย์ • บุญสม มาร์ติน • เสม พริ้งพวงแก้ว • ทองหยด จิตตวีระ • มารุต บุนนาค • เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ • ชาติชาย ชุณหะวัณ • ชวน หลีกภัย • ประจวบ ไชยสาส์น • ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ • ไพโรจน์ นิงสานนท์ • บุญพันธ์ แขวัฒนะ • อาทิตย์ อุไรรัตน์ • เสนาะ เทียนทอง • มนตรี พงษ์พานิช • สมศักดิ์ เทพสุทิน • รักเกียรติ สุขธนะ • กร ทัพพะรังสี • สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ • สุชัย เจริญรัตนกุล • พินิจ จารุสมบัติ • มงคล ณ สงขลา • ไชยา สะสมทรัพย์ • ชวรัตน์ ชาญวีรกูล • เฉลิม อยู่บำรุง • วิทยา แก้วภราดัย • จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ • วิทยา บุรณศิริ • ประดิษฐ สินธวณรงค์ • รัชตะ รัชตะนาวิน • ปิยะสกล สกลสัตยาทร


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406